ลักษณะของโรค
ขัดเบา หรือ ในทางการแพทย์หมายถึงกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคน เราโดยเข้าไปทางท่อปัสสาวะ โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อ ปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้า ทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย ทั้งนี้ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคขัดเบา ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้ง ครรภ์(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนาน ๆและอาจพบว่าเป็นโรคแทรกของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูก หมากโต หรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ ผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ หรือหลังร่วมเพศ อาจมีอาการขัดเบาแบบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์เรียกว่า โรค ฮันนีมูน (Honeymoon’s cystitis) สาเหตุเกิดจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสาวะ
ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคขัดเบานี้น้อยมาก ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูก หมากโตหรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทาง โครงสร้างของ ทางเดินปัสสาวะ
ผู้ที่มีปัญหาโรคขัดเบา มักมีอาการปัสสาวะกะปริดกะปรอย (ออกทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) รู้สึกปวดขัด หรือแสบร้อนเวลาถ่าย ปัสสาวะอาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส แต่บางคน อาจขุ่นหรือมีเลือดปนอาการอาจเกิดขึ้นหลังอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือหลังร่วมเพศ ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน
1.ขณะที่มีอาการ ให้ดื่มน้ำมากๆ ถ้าปวดมากให้ ยาแก้ปวด และให้ยาปฏิชีวนะเช่น โคไตรม็อกซาโซล, อะม็อกซีซิลลิน
หรือนอร์ ฟล็อกซา
2.ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง หรือเป็นในผู้ชาย ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจ และหาสาเหตุจากการตรวจปัสสาวะ ว่าพบเม็ดเลือดขาวจำนวนมากหรือไม่ นำปัสสาวะไปเพาะหาเชื้อ เอกซเรย์ หรือใช้กล้องส่องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ แล้วให้การรักษา ตามสาเหตุที่พบ ต่อไป
1.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือขัดเบา พบเป็นสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการขัดเบา แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคอีกหลายชนิดที่อาจมีอาการแสดงคล้ายโรคนี้ได้อีก ดังนั้นก่อนให้การรักษาโรคนี้ ควรซักถามประวัติอาการอย่างถี่ถ้วน (ขัดเบา/ปัสสาวะบ่อย/ปัสสาวะมาก)
2.ในเด็กเล็กที่มีอาการปัสสาวะรดที่นอนบ่อย หรือมีไข้ และอาเจียนไม่ทราบสาเหตุ ควรนึกถึงโรคนี้ไว้เสมอการตรวจปัสสาวะจะช่วยวินิจฉัยโรคนี้ได้
3.ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ควรดื่มน้ำมาก ๆ (ประมาณวันละ 3-4 ลิตร) เพื่อช่วยขับเชื้อโรคออก และช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะ
4. การป้องกัน ผู้ที่เคยเป็นโรคนี้ เมื่อรักษาหายแล้วควรป้องกันมิให้เป็นซ้ำโดย
4.1 พยายามดื่มน้ำมาก ๆ และอย่าอั้นปัสสาวะควรฝึกถ่ายปัสสาวะในห้องน้ำนอกบ้าน หรือระหว่างเดินทางได้ทุกที่ การอั้นปัสสาวะทำให้เชื้อโรคอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานจนสามารถเจริญแพร่พันธุ์ ประกอบกับในภาวะที่มีกระเพาะปัสสาวะยืดตัวความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้เกิดอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้
4.2 หลังถ่ายอุจจาระ ควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง เพื่อป้อง กันมิให้นำเชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
4.3 สำหรับอาการขัดเบาหลังร่วมเพศ (โรคฮันนีมูน) อาจป้องกันได้โดยดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนร่วมเพศควรใส่ครีมหล่อลื่นช่องคลอด และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ เรามาดูกันค่ะว่าเราจะสามารถขูดกัวซาเพื่อรักษาอาการขัดเบากันได้อย่างไร และจะต้องขูดกัวซาตรงไหนกันบ้าง
จุดที่ต้องขูดกัวซาเพื่อรักษาอาการขัดเบามีดังนี้ค่ะ
1.บริเวณส่วนเอวด้านหลัง : แนวเส้นส่วนกลางกระดูกสันหลัง(1), แนวเส้นด้านซ้ายใน(2), แนวเส้นด้านขวาใน(3), แนวเส้นด้านซ้ายนอก(4), แนวเส้นด้านขวานอก(5)
2.บริเวณหน้าท้องด้านล่าง(ใต้สะดือถึงหัวหน่าว) : แนวเส้นส่วนกลาง(1), แนวเส้นด้านซ้าย(2), แนวเส้นด้านขวา(3)
3.บริเวณหัวเข่าด้านข้างส่วนใน : ทั้งสองข้าง
4.บริเวณข้อเท้าด้านข้างส่วนใน : ทั้งสองข้าง