โทร  081 428 9569  |  02 716 9767

Top
รักษาอาการ หอบหืด

กัวซาบำบัดโรคหอบหืด

กัวซาบำบัดโรคหอบหืด

โรคหอบหืดส่วนมากมักเป็นตั้งแต่เด็ก หากมีอาการหอบหืดในช่วงวัยเด็กมักมีอาการภูมิแพ้ตามมาด้วย หอบหืด คือโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการหอบหืดให้ดีขึ้นเป็นครั้งคราวไปเท่านั้น โรคหืดเป็นโรคเกี่ยวกับเรื่องของหลอดลมที่มีการตีบหรืออุดตันอันเนื่องมาจากมีการอักเสบของหลอดลม มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม มีเสมหะที่เหนียวออกมามาก อาการหอบหืดบางคนก็เป็นน้อยบางคนก็เป็นมาก และอาจเสียชีวิตได้ สิ่งที่กระตุ้นให้อาการหอบหืดกำเริบนั้นก็ต่างกันเป็นรายๆไป สิ่งที่กระตุ้นให้ โรคหอบหืด กำเริบ เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย ยาฆ่าแมลง กลิ่นบุหรี่ ไรฝุ่น เชื้อรากลิ่นของแมลงสาบ ขนสัตว์จากสุนัขและแมว ละอองเกสรของดอกไม้ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม การออกกำลังกายที่หนักเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว ภาวะแพ้ยา สารเคมีหรือมลพิษฝุ่นควันต่างๆ ละอองเกสรดอกไม้ อาหารบางชนิด ภาวะเครียด ภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้เยื่อบุผนังหลอดลมบวมขึ้น ทำให้หลอดลมหดเกร็งได้ง่าย การหายใจจึงทำได้ลำบากทำได้ไม่เต็มที่ ร้อนเกินไปหรือหนาวจนเกินไป อารมณ์ เช่นเมื่อคุณหัวเราะหรือร้องไห้อย่างหนัก อาจกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดได้รวมทั้งความเครียดด้วย ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเบียร์ ของดอง ผลไม้แห้ง และควันบุหรี่ เพราะอาจทำให้เกิดหอบหืดได้ อาการของโรคหอบหืด คือทำให้ ไอ – จาม มีเสมหะเหนียว คันจมูก แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก หายใจเสียงดังมีเสียงหวีด เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ชีพขจรจะเต้นเร็วมากกว่า 120 ครั้ง ในเด็กมากกว่า 160 ครั้ง อาการหอบหืดสามารถเป็นๆหายๆได้ทุกเมื่อซึ่งโดยปกติแล้วมีโอกาสที่จะเป็นรุนแรง ได้ในตอนกลางคืนและเช้ามืด การรักษาโรคหอบหืดในปัจุบันนิยมใช้ยาขยายหลอดลม ยาต้านการอักเสบประเภทยาสเตียรอยด์ โครโมลิน และนิโดโครมิล เป็นยาพ่นที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน และลดอาการของโรคหอบหืด

เรามาทำความรู้จักกับโรคหอบหืดกันสักนิดค่ะ

โรคหอบหืด

ลักษณะของโรค

โรคหอบหืด ชื่อนี้เรียกตามอาการของคนไข้ โดยอาการหอบหืดเกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลงเกิดจากการการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม

หรือการบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม และ เสมหะจำนวนมากที่คั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม

การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม แท้จริงแล้วเป็นผลจากอักเสบของเยื่อบุหลอดลม การอักเสบส่วนใหญ่จะเป็นการอักเสบเรื้อรังเกิดจากภาวะที่มีการตอบสนองรุนแรงเกินเหตุ  โรคหอบหืด ต่างกับโรคอื่น ๆ คนไข้บางคนเป็นน้อย บางคนเป็นมาก และอาจเสียชีวิตได้ ภาวะที่กระตุ้นให้ โรคหอบหืด กำเริบก็ต่างกันในแต่ละคนไข้ ตัวอย่างของภาวะหรือสิ่งที่กระตุ้นให้ โรคหอบหืด กำเริบ คือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม ภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศเปลี่ยน การออกกำลังกาย โรคทางเดินอาหารบางโรค ภาวะแพ้ยา สารสี สารเคมีต่าง ๆ และภาวะเครียด

ในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่ สองในสามจะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ต่างกันที่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะภูมิแพ้ โดยความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ โรคหอบหืด คือ คนมักเข้าใจว่า โรคหอบหืดเป็นผลจากภาวะภูมิแพ้เสมอไป โรคหอบหืด คนเป็นกันมาก ตามสถิติแล้วมีผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืด ประมาณ 10-13% ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กชายเป็น โรคหอบหืด มากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย โดยที่การวินิจฉัย โรคหอบหืด ในเด็กทั่วไปแล้วจะยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กจำนวนไม่น้อยมีอาการอื่นร่วมด้วย เด็กบางคนไม่มีอาการหอบเลยก็ได้ ส่วนใหญ่ประวัติการเจ็บป่วยของเด็กโรคหอบหืดจะไม่ค่อยสมบูรณ์ เพราะข้อมูลได้มาจากแม่เด็ก พี่เลี้ยง ครูที่โรงเรียน หรือตัวเด็กเอง

อาการของโรค

อาการสำคัญของ โรคหอบหืด คือ ไอตอนเช้า กลางคืนตอนดึก ไอเวลาวิ่งเล่น หรือหลังวิ่งเล่น คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย ในเด็กเล็กที่หอบจากมีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคหอบหืด เช่น โรคหัวใจ โรคติดเชื้อในปอด สารแปลกปลอม ถั่ว ข้าวโพดคั่วติดในหลอดลม หรือโรคทางเดินอาหารบางชนิด รวมทั้งการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โรคหอบหืด กำเริบ ส่วนใหญ่ของเชื้อจะเป็นไวรัสที่ติดมาจากโรงเรียน หรือที่ชุมชน เด็กจำนวนมากที่แพ้สารต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา แมลงสาบ และอื่น ๆ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้แน่นอน

 การป้องกันและการรักษา

การรักษา โรคหอบหืด จะต่างกันในคนไข้แต่ละคน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุคนไข้ และภาวะที่เกิดร่วมกับโรคหอบหืด เช่น ภาวะภูมิแพ้ หรือโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง โดยทั่ วๆ ไป แนวทางรักษาที่ยอมรับโดยผู้เชี่ยวชาญมีอยู่ 4 ข้อดังนี้

  1. แนะนำให้ใช้การตรวจสอบสมรรถภาพของปอด เพื่อบ่งชี้ความรุนแรงของโรค และเพื่อติดตามวัดผลการรักษา

2.การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ หรือป้องกันการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมร่วมกับการใช้ยา เพื่อคลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลมที่หดตัว

  1. การควบคุมภาวะแวดล้อมต่าง ๆ โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีภาวะภูมิแพ้ร่วมด้วย รวมถึงการรักษาเฉพาะเจาะจงในภาวะภูมิแพ้

4.ต้องให้ความรู้คนไข้ และครอบครัวเกี่ยวกับ โรคหอบหืด และการปฏิบัติตน เช่น เลิกสูบบุหรี่ วิธีการออกกำลังกาย และวิธีใช้ยาที่ถูกต้อง

การรักษาอย่างต่อเนื่องสำคัญที่สุดในโรคหอบหืดคนไข้ส่วนใหญ่ หรือแพทย์ส่วนใหญ่จะมองข้ามจุดสำคัญนี้ ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย คนไข้ก็ว่าไม่หายสักที หมอก็ว่าคนไข้ไม่รู้เรื่องไม่ทำตามคำแนะนำของของแพทย์

ยาหลักที่ใช้ในการรักษา และบรรเทาโรคหอบหืดมีดังนี้

ยาต้านการอักเสบ

ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรคหอบหืด สำหรับผู้ป่วยเด็ก และผู้ใหญ่ ยานี้มีทั้งรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน และรูปแบบพ่นเข้าสู่หลอดลมโดยตรง อย่างไรก็ตาม ยาในรูปแบบพ่นถือได้ว่าเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาของคนไข้หอบหืดเรื้อรัง และมีความปลอดภัยสูง เพราะปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงใด ๆ จากการใช้ยานี้

ส่วนยาในรูปแบบรับประทานจะใช้รับประทาน เมื่อมีอาการกำเริบอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถจะพ่นยาได้ และจะใช้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น คือ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่หากผู้ป่วยโรคหอบหืด รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจพบผลข้างเคียงขึ้นได้เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม ความดันโลหิตสูง ตาเป็นต้อ กระดูกผุ กล้ามเนื้ออ่อนแรง และบวมตามที่ต่าง ๆ

โครโมลิน และนิโดโครมิล เป็นยาพ่นที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน และลดการอักเสบที่จะเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย หรืออากาศเปลี่ยน

ยาขยายหลอดลม

ยาประเภทนี้จะช่วยขยาย หรือคลายกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลมที่หดเกร็งตัว

ยากลุ่มเบต้าอะโกนิส ที่ใช้แพร่หลายคือยาพ่นแบบน้ำ และแบบผง อีกทั้งยังมียาเม็ด และยาน้ำในรูปแบบรับประทาน รวมทั้งรูปแบบที่ใช้กับเครื่องปั๊ม ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการขยายหลอดลมสูง นิยมใช้ในคนไข้ โรคหอบหืด ที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน แต่ไม่ควรใช้ติดต่อเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงในภายหลัง เพราะไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของ โรคหอบหืด

ยากลุ่มแซนทีน ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และขยายหลอดลม สำหรับใช้ในคนไข้โรคหอบหืดเรื้อรัง ในปัจจุบันจะพบได้ทั้งยาฉีดยาน้ำ และยาเม็ด ทั้งรูปแบบธรรมดา เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับประทาน ผลข้างเคียงพบได้น้อย มีความปลอดภัยสูง

นอกจากแพทย์แผนปัจจุบันแล้วยังมีแพทย์ทางเลือกอีกมากมายที่ช่วยบำบัดรักษาโรคภูมิแพ้ได้ อาทิ การทำกัวซา ที่ถือว่าเป็นเทคนิคการรักษาแบบแพทย์แผนจีนที่ช่วยรักษาโรคหอบหืดได้ เรามาดูกันค่ะว่าวิธีขูดรักษา กัวซาหอบหืด เพื่อรักษาอาการหอบหืดทำอย่างไรกันบ้าง

จุดที่ขูด กัวซาหอบหืด ได้แก่

  • บริเวณแผ่นหลังด้านบน : แนวเส้นส่วนกลางกระดูกสันหลัง (1), แนวเส้นด้านซ้าย (2), แนวเส้นด้านขวา (3)
  • บริเวณแผ่นหลังด้านล่าง (เส้นใน) : แนวเส้นด้านซ้าย (1), แนวเส้นด้านขวา (2)
  • บริเวณแผ่นหลังด้านล่าง (เส้นนอก) : แนวเส้นด้านซ้าย (1), แนวเส้นด้านขวา (2)
  • บริเวณทรวงอก (จากไหปลาร้าถึงลิ้นปี่) : แนวเส้นกลาง (1), เส้นแนวนอนด้านซ้าย (2), เส้นแนวนอนด้านขวา (3) โดยขูดสลับกันไปมาระหว่างเส้นที่ (2) และเส้นที่ (3) ให้ครบทั้ง 4 เส้น
  • บริเวณด้านข้างรักแร้ : แนวเส้นด้านซ้าย (1), แนวเส้นด้านขวา (2)
  • บริเวณท่อนแขนด้านหน้าส่วนล่าง : แนวเส้นด้านในทั้งสองข้าง
  • บริเวณท่อนแขนด้านหน้าส่วนล่าง : แนวเส้นด้านนอกทั้งสองข้าง

8. บริเวณหน้าแข้ง : ทั้งสองข้างรักษาอาการ หอบหืด

รักษาอาการ หอบหืดด้วยการขูดกัวซาตามจุด

การออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ปอดแข็งแรง การหลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ทั้งขนสัตว์ ควันบุหรี่ การใช้ผ้าปิด – ปากจมูกเพื่อป้องกันฝุ่นควันจากมลพิษ การทำความสะอาดที่นอน, หมอน อย่างสม่ำเสมอ ก็ช่วยป้องกันสาเหตุของอาการหอบหืดได้เช่นกันค่ะ