
ข้อน่ารู้เกี่ยวกับโรคไมเกรน(ลมตะกัง)
อาการปวดหัวนั้นมีหลากหลาย บ้างก็ปวดหัวตรงกลาง บ้างก็ปวดตรงขมับ มึน งง เวียนศีรษะ หรือแม้กระทั่งปวดหัวข้างเดียวอย่างที่รู้จักในชื่อ “ไมเกรน” หรือ ลมตะกัง ซึ่งหลาย ๆ คนมีอาการเช่นนี้อยู่ จึงรู้ดีว่ามันทุกข์ทรมานมากขนาดนี้ นิตยสารหมอชาวบ้าน มีข้อเท็จจริงน่ารู้เกี่ยวกับโรคไมเกรนมาบอกกัน
โรคไมเกรนหรือโรคปวดหัวข้างเดียว
(อังกฤษ: migraine) เป็นความผิดปกติทางประสาทเรื้อรังอย่างหนึ่ง ลักษณะเด่นคือปวดศีรษะปานกลางถึงรุนแรงเป็นซ้ำ มักสัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทอิสระจำนวนหนึ่ง เชื่อว่า ไมเกรนมีสาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมผสมกัน[2] ผู้ป่วยประมาณสองในสามเป็นในครอบครัว[3] การเปลี่ยนระดับฮอร์โมนผสมกัน เพราะไมเกรนมีผลต่อเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อยก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ แต่ในผู้ใหญ่ หญิงเป็นมากกว่าชายประมาณสองถึงสามเท่า[4][5] ความเสี่ยงของไมเกรนปกติลดลงระหว่างการตั้งครรภ์[4] ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดของไมเกรน แต่เชื่อว่าเป็นความผิดปกติของประสาทควบคุมหลอดเลือด[3] ทฤษฎีหลักสัมพันธ์กับการเร้าได้ (excitability) ที่เพิ่มขึ้นของเปลือกสมองและการควบคุมผิดปกติของเซลล์ประสาทรับความเจ็บปวดในนิวเคลียสของประสาทไทรเจมินัลในก้านสมอง[6]
เริ่มต้น การรักษาแนะนำ คือ ยาระงับปวดธรรมดา เช่น ไอบูโปรเฟนและพาราเซตามอล (หรืออะเซตามิโนเฟน) สำหรับปวดศีรษะ ยาแก้อาเจียนสำหรับคลื่นไส้ และการเลี่ยงตัวกระตุ้น อาจใช้สารเฉพาะเช่น ทริพแทนหรือเออร์โกทามีนในผู้ที่ยาระงับปวดธรรมดาใช้ไม่ได้ผล 15% ของประชากรทั่วโลกเคยเป็นไมเกรนครั้งหนึ่งในชีวิต
ตรงแบบ อาการปวดศีรษะมีผลต่อศีรษะครึ่งซีก มีสภาพปวดตามจังหวะ (หัวใจเต้น) และกินเวลาตั้งแต่ 2 ถึง 72 ชั่วโมง อาการที่สัมพันธ์อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสง เสียงหรือกลิ่น โดยทั่วไปความเจ็บปวดรุนแรงขึ้นจากกิจกรรมทางกาย[1] ผู้ป่วยไมเกรนถึงหนึ่งในสามมีสัญญาณบอกเหตุ (aura) คือ การรบกวนภาพ การรับความรู้สึก ภาษาหรือการสั่งการร่างกายซึ่งบ่งบอกว่าจะเกิดปวดศีรษะในไม่ช้า[1] บางครั้งสัญญาณบอกเหตุเกิดได้โดยมีการปวดศีรษะตามมาน้อยหรือไม่ปวดเลย
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด ทราบว่าไม่มีความผิดปกติของโครงสร้างทางกาย (รวมทั้งสมอง) แต่ทุกครั้งที่กำเริบ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดและกลไกทางประสาทภายในสมองและบริเวณใบหน้า กล่าวคือ หลอดเลือดภายในกะโหลกศีรษะหดตัว ในขณะที่หลอดเลือดภายนอกกะโหลกศีรษะ (เช่น ที่ขมับ) พองตัว และประสาทไวต่อสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเจ็บปวด ทำให้มีอาการปวดศีรษะที่มีลักษณะจำเพาะและอาการต่าง ๆ ร่วมด้วย โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยมีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นไมเกรนด้วย
สาเหตุกระตุ้น(เหตุกำเริบ/สิ่งกระตุ้น)
โรคนี้มักมีอาการปวดศีรษะกำเริบเป็นครั้งคราว ทุกครั้งที่กำเริบ มักจะมีสาเหตุกระตุ้นล่วงหน้า เป็นชั่วโมงถึง 2วันเสมอ ผู้ป่วยควรสังเกตว่ามีอะไรเป็นเหตุกำเริบ หรือสิ่งกระตุ้นบ้าง (มักมีได้มากกว่า 1 อย่าง) เช่น
- ทางตา-แสงแดด แสงจ้า แสงระยิบระยับ การใช้สายตาเคร่งเครียดหรือลายตา (เช่น จ้องจอ คอมพิวเตอร์ หรืออ่านหนังสือนาน ๆ)
- ทางหู-เสียงดัง เสียงจอแจ
- ทางจมูก-กลิ่นต่าง ๆ รวมทั้งกลิ่นน้ำหอม ควันบุหรี่
- ทางลิ้น-อาหาร (เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล หมูแฮม ไส้กรอก ถั่ว กล้วยหอม ช็อกโกแลต ผงชูรส น้ำตาลเทียม-แอสพาร์เทม (aspartame) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มกาแฟมาก เป็นต้น) ยาเม็ดคุมกำเนิด ยานอนหลับ
- ทางกาย (กายภาพ)-อากาศร้อนจัด เย็นจัด อบอ้าว หิวจัด อิ่มจัด อดนอน นอนมาก (ตื่นสาย) ร่างกายเหนื่อยล้า ประจำเดือนมา มีไข้สูง มีอาการเจ็บปวดที่ต่าง ๆ (เช่น ปวดประจำเดือน ปวดฟัน)
- ทางใจ-เครียด กังวล คิดมาก ซึมเศร้า
อาการที่โดดเด่น
คือ มีอาการปวดตุบ ๆ (ตามจังหวะชีพจร) ที่ขมับข้างเดียว (พบได้ร้อยละ 70-80) หรือ 2 ข้าง (พบได้ร้อยละ 20-30) แต่ละครั้งจะปวดติดต่อกันนาน 4-72 ชั่วโมง (ในกรณีที่ปวดข้ามคืน ช่วงนอนหลับจะทุเลาชั่วคราว พอตื่นนอนก็จะปวดต่อ) แม้ไม่ได้กินยา เมื่อปวดถึงจังหวะหนึ่งก็จะค่อย ๆ ทุเลาไปได้เอง แต่ถ้ารีบกินยาแก้ปวดเมื่อเริ่มมีอาการกำเริบ ก็จะช่วยให้ทุเลาได้เร็ว
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการคลื่นไส้ร่วมกับปวดศีรษะ และมักจะปวดแรงขึ้นเมื่อสัมผัสสิ่งกระตุ้น เช่น ได้ยินเสียงดัง เห็นแสงจ้า ฝืนทำงาน เคลื่อนไหวร่างกาย หรือขึ้นลงบันได ผู้ป่วยมักจะหยุดพักและหลบเลี่ยงสิ่งกระตุ้นดังกล่าว เช่น นั่งหรือนอนพักในห้องที่อากาศสบาย ๆ สลัว ๆ เงียบ ๆ ถ้าได้หลับสักตื่นอาการปวดมักจะทุเลา
ขณะปวดเต็มที่ มักคลำได้หลอดเลือดที่ขมับข้างที่ปวดพองตัว บางครั้งหลังปวดเต็มที่แล้ว อาจมีอาการอาเจียน แล้วการปวดก็จะค่อยทุเลาไป บางราย ก่อนปวดอาจมีอาการเตือนก่อนปวด คือ มีอาการทางสายตา (aura) เช่น ตาพร่า ตาลาย เห็นแสงสีรุ้ง เห็นดวงขาว ๆ หรือมองเห็นภาพที่ผิดเพี้ยนไปจากปกติประมาณ 15-30 นาที นำร่องมาก่อน และจะหายไปเมื่อเริ่มเกิดอาการปวดศีรษะ
การดำเนินของโรค
มักมีอาการครั้งแรกตอนวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว (ในวัยเด็กเล็ก อาจมีอาการเมารถ เมาเรือง่าย มาก่อน) อาการปวดมักกำเริบเป็นครั้งคราวเมื่อถูกเหตุกำเริบหรือสิ่งกระตุ้น อาจเดือนละครั้งหรือหลายครั้ง หรือนาน ๆ ที ส่วนใหญ่มักมีโอกาสกำเริบไปตลอดชีวิต บางรายอาจหายขาด เมื่อพ้นวัย 55 ปีไปแล้ว ผู้ที่มีอาการกำเริบบ่อยมาก (เช่น ปวดแทบทุกวัน) อาจมีโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลร่วมด้วย
อันตรายของโรค
โดยทั่วไป ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายใด ๆ ยกเว้น หญิงที่เป็นไมเกรนแบบมีอาการเตือน คือ มีอาการสายตา (aura) นำร่องก่อนปวด หากสูบบุหรี่ หรือกินยาเม็ดคุมกำเนิด ก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (อัมพาตครึ่งซีก) ได้มากกว่าคนทั่วไป
การรักษา
- รีบกินยาบรรเทาปวด (เช่น พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด) ทันทีที่เริ่มมีอาการ อย่ารอให้ปวดนานเกิน 30 นาที จะได้ผลน้อย ผู้ป่วยจำเป็นต้องพกยาแก้ปวดติดตัว จะได้กินทันทีที่เริ่มมีอาการ
- หาทางนอนพัก หรือนั่งพัก
- หลีกเลี่ยงที่ที่อบอ้าว มีแสงจ้าหรือเสียงดัง หยุดการเคลื่อนไหวร่างกาย และการเดินขึ้นลงบันได
ถ้าคลื่นไส้มาก ให้กินยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (ตามคำแนะนำของหมอ) ควบไปด้วย ในกรณีที่ใช้พาราเซตามอลไม่ได้ผล (พบได้ประมาณร้อยละ 20-30) แพทย์อาจให้ยาบรรเทาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ทามาดอล (tamadol) เออร์โกทามีน (ergotamine) ชูมาทริปแทน (sumatriptan) เป็นต้น ซึ่งควรกินเป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาปวด
การป้องกัน
ควรสังเกตว่ามีอะไรเป็นเหตุกำเริบหรือสิ่งกระตุ้น (มักมีมากกว่า 1 อย่าง) แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเสีย ถ้าเป็นบ่อยหรือรุนแรงจนเสียงาน แพทย์จะให้ยากินป้องกันนาน ครั้งละ 3-6 เดือน ยาป้องกัน เช่น อะมิทริปไทลีน (amitriptyline) นอร์ทริปไทลีน (nortriptyline) โพรพราโนลอล (propranolol) อะทิโนลอล (atenolol) โทพิราเมต (topiramate) ยาเหล่านี้อาจมีข้อระวังในการใช้ จึงต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งใช้ให้เหมาะกับผู้ป่วย แต่ละรายที่อาจมีภาวะสุขภาพหรือมีการใช้ยาอื่น ๆ อยู่ก่อน ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้
ตัวอย่างโรคที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง หรือปวดมากคล้ายไมเกรน
- ปวดศีรษะจากความเครียด (tension headache) เกิดจากมีจิตใจเครียด วิตกกังวล หรือนอนไม่หลับ กล้ามเนื้อ รอบศีรษะ หรือบริเวณท้ายทอยตึงตัว (เกร็งแข็ง) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหนัก ๆ มึน ๆ บริเวณรอบศีรษะหรือท้ายทอยติดต่อกันนานเป็นชั่วโมง ๆ เป็นวัน ๆ หรือเป็นสัปดาห์ โดยปวดพอทนอย่างคงที่ต่อเนื่อง และยังทำกิจวัตรประจำวันได้ จะทุเลาเมื่อหายเครียดหรือได้ยาบรรเทา (ไม่ปวดแรงขึ้น ๆ จนต้องหยุดงานไม่ปวดตุบ หรือปวดขมับข้างเดียว หรือคลื่นไส้แบบที่พบในไมเกรน)
- เนื้องอกสมอง (brain tumor) พบได้ในคนทุกวัย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหน่วง ๆ ตึง ๆ ทั่วศีรษะตอนเช้ามืด (ขณะกำลังตื่นนอน) พอตกสาย ไปทำงานหรือเรียนหนังสือก็หายไปเอง เป็นแบบนี้อยู่ทุกเช้า นานเป็นสัปดาห์ ๆ ซึ่งจะปวดนานและแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ต่อมาอาจกลายเป็นปวดแทบทั้งวัน หรือปวดรุนแรง มีอาการอาเจียนบ่อย อาจมีอาการเดินเซ แขนขากระตุกหรืออ่อนแรงตามมาในที่สุด (ไม่มีอาการปวดตุบ ๆ หรือปวดขมับข้างเดียวเป็นครั้งคราวแบบไมเกรน)
- หลอดเลือดสมองแตก (cerebral hemorrhage) บางคนอาจมีหลอดเลือดที่ผิดปกติมาแต่กำเนิด ซึ่งมีลักษณะเปราะบางแตกง่ายกว่าปกติ เมื่อโตขึ้นย่างเข้าวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว หรือวัยกลางคนก็ถึงจังหวะแตก เริ่มแรกผังหลอดเลือดปริ มีเลือดซึมออกเล็กน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดทั่วศีรษะฉับพลันและรุนแรงต่อเนื่องเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ กินยาแก้ปวดไม่ทุเลา แต่ยังรู้สึกตัวดี ต่อมาก็จะแตก มีเลือดออกมาก ผู้ป่วยจะปวดรุนแรงมาก อาเจียน และหมดสติ หากเป็นตรงส่วนสำคัญ ก็จะเสียชีวิต แต่ถ้าเป็นตรงส่วนไม่สำคัญ แพทย์สามารถช่วยเยียวยาหรือผ่าตัดให้หายหรือรอดชีวิตได้ (ไม่มีอาการปวดตุบ ๆ หรือปวดขมับข้างเดียวเป็นครั้งคราวแบบไมเกรน)
- ต้อหินเฉียบพลัน (acute glaucoma) มักพบในวัยกลางคนขึ้นไปที่มีโครงสร้างของลูกตาผิดปกติซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรม ช่วงที่มีอาการกำเริบเนื่องเพราะน้ำเลี้ยงภายในลูกตาเกิดการอุดกั้น ทำให้ความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้นฉับพลัน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาและศีรษะข้างเดียวอย่างรุนแรงและต่อเนื่องเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ กินยาแก้ปวดไม่บรรเทา ตาข้างที่ปวดมีอาการตาพร่ามัว ตาแดง (มีอาการปวดศีรษะข้างเดียวคล้ายไมเกรน แต่ปวดหน่วงอย่างรุนแรงในลูกตามากกว่าปวดตุบที่ขมับ เป็นการปวดครั้งแรกที่พบในคนวัยกลางคนขึ้นไป)
เนื้อหา
- พยาธิกำเนิด
- อาการแสดง
- อาการทางคลินิก
- ปัจจัยกระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรน
- เกณฑ์การวินิจฉัยไมเกรน
- ขอบเขตในการดูแลรักษาผู้ป่วยไมเกรน
- ยาที่ใช้รักษาอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน
- ยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
- อ้างอิง
พยาธิกำเนิด
อาการปวดศีรษะไมเกรนเกี่ยวข้องกับหลอดเลือด สารชีวเคมีกลุ่ม peptide สารก่อการอักเสบที่ปลายประสาท Trigeminal และระบบประสาท โดยกลไกการเกิดล่าสุดที่พบ คือ genetic mutation ซึ่งผลของความผิดปกติของยีนส์เหล่านี้ทำให้มีปริมาณโปแทสเซียมและกลูตาเมตภายนอกเซลล์มากขึ้นซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของหลอดเลือดร่วมกับการกระตุ้นประสาทส่งผลให้การไหลเวียนเลือดเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ จากการขยายเส้นเลือดบริเวณศีรษะ หลังจากนั้นจะมีการไหลเวียนเลือดน้อยลงจากการหดหลอดเลือดบริเวณศีรษะ ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะที่มีการกดประสาทจากการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือด นี้ทำให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรนขึ้น
ขณะที่มี aura เกิดจากการที่มีกระแสประสาทผ่านไปยัง occipital lobe ส่งผลให้การทำงานของ visual cortex เปลี่ยนแปลงไปด้วย ทำให้มีอาการผิดปกติทางสายตา เช่น เห็นแสงซิกแซก หรือแสงวาบ แต่ในกรณีของ migraine without aura อาจเกิดจากกระแสประสาทไม่ผ่านไปยัง occipital lobe หรือกระแสประสาทไม่แรงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ visual cortex จึงไม่เกิดอาการผิดปกติทางสายตา
นอกจากนี้ที่ปลายประสาท trigeminal มี serotonin subtype 1 receptor (5-HT1d) อยู่ โดยที่ 5-HT1d ที่พบที่ปลายประสาท trigeminal และ 5-HT1b ที่พบที่ human cerebral blood vessel ซึ่งทำให้หลอดเลือดหดตัวดังนั้นการกระตุ้นที่ 5-HT1 จึงช่วยลดอาการปวดศีรษะ
อาการแสดง
อาการปวดศีรษะไมเกรนมักจะปวดศีรษะครึ่งซีก แต่บางครั้งเป็นสองข้างก็ได้ โดยมักกินเวลาปวด 4-72 ชั่วโมง ซึ่งมักจะมีการปวดตุ๊บๆ และส่วนมากจะพบอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย รวมถึงอาจมีหรือไม่มีอาการนำทางสายตา เช่น เห็นแสงซิกแซก, แสงวาบ เป็นต้น อาการปวดศีรษะไมเกรนแบ่งตามอาการนำได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
Migraine without aura จะไม่มีอาการผิดปกติทางสายตานำมาก่อนการปวดศีรษะ มักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
Migraine with aura จะมีอาการผิดปกติผิดปกตินำมาก่อนการปวดศีรษะ เช่น เห็นแสงซิกแซก, แสงวาบ โดยมักจะอาการเหล่านี้ก่อนปวดศีรษะประมาณ 1 ชั่วโมง นอกจากนั้นจะมีอาการเหมือน migraine without aura
อาการทางคลินิก
แบ่งออกเป็น 5 ระยะ คือ ระยะอาการนำ (Prodrome), ระยะออรา (aura), ระยะปวดศีรษะ, ระยะหายปวดศีรษะ (Resolution) และระยะภายหลังจากหายปวดศีรษะ (Postdrome) อาการแสดงทางคลินิกนี้ ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีอาการที่แตกต่างกัน เช่น migraine without aura จะไม่พบระยะออรา เป็นต้น
ระยะอาการนำ (Prodome)
จะพบอาการภายใน 24 ชั่วโมงก่อนมีอาการปวดศีรษะ เช่น หงุดหงิด อาการหิว ท้องเดิน ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลีย เหม็นกลิ่นอาหาร เป็นต้น ซึ่งจะอาการเหล่านี้ในผู้ป่วยที่ปวดศีรษะไมเกรนประมาณ 50% ของผู้ป่วยไมเกรน
ระยะออรา (aura)
จะพบอาการก่อนการปวดศีรษะประมาณ 1 ชั่วโมง จะพบอาการผิดปกติทางสายตา เช่น เกิดจุดเมื่อมองวัตถุ เห็นภาพผิดขนาด เห็นภาพเพียงครึ่งเดียว แสงซิกแซก มองเห็นเป็นเส้นคลื่น ซึ่งจะอาการเหล่านี้ในผู้ป่วยที่ปวดศีรษะไมเกรนประมาณ 20% ของผู้ป่วยไมเกรน
ระยะปวดศีรษะ
มีอาการปวดศีรษะแบบจุดๆ ส่วนใหญ่จะปวดข้างเดียว แต่ก็พบที่ปวดศีรษะทั้งข้างได้เช่นกัน โดยมักจะมีเหล่านี้ร่วมด้วย ได้แก่ ปวดกระบอกตา ปวดต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน กลัวแสง กลัวเสียง ซึ่งระยะมีระยะเวลา 4-72 ชั่วโมง
ระยะหายปวดศีรษะ (Resolution)
อาการปวดศีรษะมักจะหายไปหลังจากที่ได้พักผ่อน เช่น การนอนหลับ
ระยะภายหลังจากหายปวดศีรษะ (Postdrome)
หายจากอาการปวดศีรษะแต่ร่างกายมีอาการอ่อนล้า ศีรษะตื๊อๆ ความคิดไม่แล่น เฉยเมย จึงควรที่จะนอนพัก
ปัจจัยกระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรน
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคไมเกรน[7]มีหลากหลาย ผู้ป่วยแต่ละรายควรสังเกตว่าปัจจัยใดบ้างที่กระตุ้นอาการปวดศีรษะในตัวเอง ซึ่งจะได้หลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านั้น ซึ่งปัจจัยกระตุ้นได้แก่
- อาหาร – อาหารบางชนิดกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้เช่น คาเฟอีน, สารไทรามีนเช่น ชีส ผงชูรส (monosodium glutamate) ช็อกโกแลต สารที่ให้รสหวาน เช่น aspartame ผลไม้รสเปรี้ยว โยเกิร์ต และสารไนเตรทเช่น ไส้กรอก เป็นต้น
- ระดับฮอร์โมน – ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น ช่วงที่มีประจำเดือน รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ได้รับฮอร์โมนทดแทน และกำลังตั้งครรภ์ เป็นต้น
- สภาพร่างกาย – สภาพร่างกายที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น นอนไม่พอ เครียด ทำงานหนักมากเกินไป และอดอาหาร เป็นต้น
- การออกกำลังกาย – การออกกำลังกายที่มากเกินก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการกำเริบของอาการปวดหัวไมเกรนได้
- สภาวะแวดล้อม – สภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ เช่น อาการร้อนหรือหนาวจัด แสงแดดจ้า กลิ่นไม่พึงประสงค์บางอย่าง เช่น กลิ่นบุหรี่หรือกลิ่นน้ำหอม เป็นต้น
- ยาและสารเคมีบางชนิด – ยาและสารเคมีบางชนิดกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะได้ เช่น nitroglycerine, Hydralazine, Histamine, Resepineเป็นต้น
เกณฑ์การวินิจฉัยไมเกรน
แนวทางการวินิจฉัยไมเกรนใช้หลักเกณฑ์ของ International Headche Society (IHS) ซึ่งจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
ไมเกรน เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติระบบประสาทที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะซึ่งเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด ซึ่งอาจจะเป็นๆ หายๆ จึงควรได้รับการวินิจฉัยแยกจากกลุ่มที่มีอาการคล้ายไมเกรน เช่น Cluster Headche, Tension Headcheลักษณะที่สำคัญของไมเกรน ประกอบด้วย ส่วนใหญ่มักจะปวดศีรษะข้างเดียวประมาณ 60% หรือจะมีอาการปวดศีรษะทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยทั่วไปจะมีอาการปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมงและมักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและเวียนศีรษะร่วมด้วย รวมถึงอาการกลัวแสงหรืออาการกลัวเสียงได้
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไมเกรน มีทั้งให้การรักษาแบบไม่ใช้ยาโดยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยว พยาธิกำเนิด ปัจจัยกระตุ้นต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนวิถึชีวิต และการรักษาแบบใช้ยา โดยจำแนกออกเป็นยาป้องกันไมเกรนที่ต้องรับประทานทุกวันสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตั้งแต่ 3 ครั้งต่อเดือน และยารักษาอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน
โรคไมเกรนที่ไม่มีอาการนำ
1. ปวดศีรษะนาน 4-72 ชั่วโมง ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ได้ผล
2. อาการปวดศีรษะจะต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 2 ข้อ ได้แก่
2.1 ส่วนใหญ่ปวดศีรษะข้างเดียวแต่บางอาจปวดทั้งสองข้าง
2.2 ปวดตุ๊บๆเป็นจังหวะ
2.3 อาการปวดศีรษะอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง
2.4 อาการปวดศีรษะทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เป็นปกติ
3.ระหว่างปวดศีรษะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
3.1 อาการไม่สู้แสง หรือ อาการไม่สู้เสียง
3.2 คลื่นไส้ หรือ อาเจียน
4.เคยปวดศีรษะอย่างน้อย 5 ครั้ง และ มีอาการที่ระบุไว้ในข้อ 1-3
โรคไมเกรนที่มีอาการนำ
1.พบอาการนำอย่างน้อย 1 อาการ ดังนี้
1.1อาการแสดงทางสายตาที่กลับมาได้ เช่น เห็นแสงวูบวาบ เห็นภาพเป็นจุด เห็นแสงซิกแซก เป็นต้น
1.2อาการแสดงทางการรับความรู้สึกที่กลับมาได้ เช่น วิงเวียนศีรษะ มีเสียงในหู เป็นต้น
1.3อาการแสดงที่แสดงอาการพูดลำบากที่กลับมาได้
2.พบอาการนำอย่างน้อย 2 อาการ ดังนี้
2.1พบกลุ่มอาการ aura ที่บ่งบอกถึงความบกพร่องการทำงานของ cerebral cortex หรือ brain stem
2.2พบอาการ aura ชนิดใดชนิดหนึ่งเกิดนานมากกว่า 5 นาที หรือเกิดอาการ aura แต่ละชนิดต่อเนื่องกันเป็นลำดับ
2.3อาการ aura เกิดนานไม่เกิน 60 นาที นอกจากจะเกิดอาการ aura หลายชนิด
3.อาการปวดศีรษะ จะเกิดตามอาการนำในช่วงเวลาไม่เกิน 60 นาที
4.อาการปวดศีรษะนี้ได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายว่า ไม่ได้มาจากพยาธิสภาพที่อาจเกิดโรคในโพรงกะโหลกศีรษะ หรือ โครงสร้างอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงกับโพรงกะโหลกศีรษะ
5.เคยปวดศีรษะอย่างน้อย 2 ครั้งและมีอาการที่ระบุไว้ในข้อ 1-4
ขอบเขตในการดูแลรักษาผู้ป่วยไมเกรน
เนื่องด้วยการปวดศีรษะไมเกรน การดูแลรักษาจึงมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมการปวดไม่ให้รบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะได้ผลดีจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยในการลดปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวด การรักษาด้วยยามี 2 วัตถุประสงค์ คือ รักษาอาการปวดในระยะเฉียบพลัน และ การป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน
ยาที่ใช้รักษาอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน
ยากลุ่มนี้จะใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อมีอาการปวดศีรษะเท่านั้น ไม่ได้ลดความถี่ในการเกิดหรือใช้ป้องกัน ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ (Nonsteroid anti-inflammatory drugs; NSAIDs) เช่น Ibuprofen, Naproxen sodium, Paracetamol, Aspirin เป็นต้น
กลไกการออกฤทธิ์ : ยับยั้งเอมไซม์cyclooxygenase (COX) ส่งผลให้ไม่สามารถสร้างสาร prostaglandins จึงลดอาการอักเสบได้
ข้อบ่งใช้: บรรเทาอาการปวดระดับน้อยถึงปานกลาง
ขนาดยาที่ใช้
Ibuprofen รับประทานครั้งละ 200-600 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 3.2 กรัมต่อวัน
Naproxen sodium รับประทานครั้งละ 275-550 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 1.65 กรัมต่อวัน
Paracetamolรับประทานครั้งละ 500-1000 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน
Aspirin รับประทานครั้งละ 650-1300 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 4 กรัมต่อวัน
อาการข้างเคียง: แผลในกระเพาะอาหาร
Ergot alkaloid เช่น ergotamine+caffeine tablet (Cafergot?)
กลไกการออกฤทธิ์: nonselective 5-HT receptor agonists โดยผลที่ต้องการ คือ ทำให้หลอดเลือดที่สมองหดตัว
ข้อบ่งใช้: บรรเทาอาการปวดรุนแรง โดยเป็นยา first line สำหรับรักษาอาการปวดศีรษะไมเกรนเฉียบพลัน
ขนาดยาที่ใช้
Cafergot? (ergotamine 1 มิลลิกรัม และ caffeine 100 มิลลิกรัม) รับประทานครั้งแรก 2 มิลลิกรัม ซ้ำได้ทุก 30 นาที ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 3 ครั้งต่อวันหรือ 10 ครั้งต่อสัปดาห์
อาการข้างเคียง: คลื่นไส้ อาเจียน
Triptansเช่น Sumatriptan, Naratriptan
กลไกการออกฤทธิ์: selective 5-HT receptor agonists โดยทำให้หลอดเลือดที่สมองหดตัวแต่เนื่องจากเป็น selective จึงไม่ได้ไปกระตุ้น receptor อื่นที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหมือนใน ergot alkaloid ส่งผลให้ไม่เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ข้อบ่งใช้: บรรเทาอาการปวดรุนแรงและเฉียบพลันรวมถึงอาการที่ดื้อต่อยาแก้ปวดขนานอื่นๆ โดยจัดเป็นยา first line สำหรับรักษาอาการปวดศีรษะ ไมเกรนเฉียบพลัน
ขนาดยาที่ใช้
Sumatriptanรับประทานครั้งละ 25-100 มิลลิกรัม และสามารถรับประทานซ้ำในชั่วโมงที่ 2 ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน
Naratriptanรับประทานครั้งละ 2.5 มิลลิกรัมและสามารถรับประทานซ้ำในชั่วโมงที่ 4 ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อวัน
อาการข้างเคียง: อาการแน่นหน้าอก, ใบหน้าร้อนแดง, คลื่นไส้อาเจียน
ยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
การเลือกใช้ยากลุ่มนี้เมื่อมีข้อที่ควรพิจารณาดังนี้
- ใช้เมื่อมีอาการมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- รบกวนการดำเนินชีวิต
- อาการปวดมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นหรือระยะเวลาที่ปวดแต่ละครั้งนานขึ้น
การเลือกใช้ยาในแต่ละกลุ่มควรคำนึงถึงประสิทธิภาพและโรคร่วมอื่นๆ ของผู้ป่วยที่เป็นอยู่ โดยควรเริ่มต้นจากขนาดยาน้อยๆ ปรับเพิ่มทีละนิดจนได้ขนาดยาที่ต้องการ เมื่อใช้ยาได้ประมาณ 3 เดือน ให้ประเมินความถี่และความรุนแรงของอาการว่าลดลงหรือไม่ โดยส่วนมากยาจะได้ผลเมื่อรับประทานต่อเนื่อง 1 เดือนขึ้นไป เมื่อยาได้ผลควรทานอย่างน้อยนาน 6 เดือน แล้วค่อยๆ ลดขนาดยาลงทีละนิด จะหยุดไปเลย ?? เพื่อป้องกันการเกิด rebound headache ยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่
blocker จัดเป็นยา first line drug ของยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน เช่น Propranolol, Atenolol
กลไกการออกฤทธิ์: ปรับระดับสมดุลของ catecholamine
ข้อบ่งใช้: ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน โดยลดความถี่ ระดับความรุนแรงและลดระยะเวลาอาการปวด จัดเป็น first line drug ที่ใช้ในการยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
ขนาดยาที่ใช้:
Propranolol รับประทานครั้งละ 80 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
Atenolol รับประทานครั้งละ 100 มิลลิกรัมวันละครั้ง
ผลข้างเคียง: หัวใจเต้นช้าลง ความดันโลหิตต่ำลง หลอดลมหดตัว
Calcium blocker เช่น Verapamil, Flunarizine
กลไกการออกฤทธิ์: ปรับระดับการทำงานของสารสื่อประสาท
ข้อบ่งใช้: ลดความถี่ของการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนโดยที่ไม่ลดระดับความรุนแรงหรือระยะเวลาในการปวด
ขนาดยาที่ใช้:
Verapamil ขนาดรับประทานเริ่มต้น 40 มิลลิกรัมต่อวันแล้วค่อยเพิ่มเป็น 40 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
Flunarizineขนาดรับประทานเริ่มต้น 5 มิลลิกรัมก่อนนอนแล้วค่อยเพิ่มเป็น 10 มิลลิกรัม ก่อนนอนต่อวัน
ผลข้างเคียง: หัวใจเต้นช้าลง ความดันโลหิตต่ำลง
Tricyclic antidepressants เช่น Amitriptyline
กลไกการออกฤทธิ์: ยับยั้งการเก็บกลับของ nore-epinephrine และ serotonin ส่งผลให้เพิ่มระดับของสารสื่อปรสาททั้งสองตัว
ข้อบ่งใช้: เป็น first line drug ของยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนในผู้ป่วยที่มี depression ร่วมด้วย
ขนาดยาที่ใช้: Amitriptyline ขนาดรับประทานเริ่มต้น 10 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนนอน อาจเพิ่มขนาดยาจนถึง 200 มิลลิกรัม ก่อนนอน
ผลข้างเคียง: ปากแห้ง, คอแห้ง, ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว
Anticonvalsantsเช่น Sodium valproate
กลไกการออกฤทธิ์: เพิ่ม GABA activity
ข้อบ่งใช้: เป็น first line drug ของยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนที่มีอาการรุนแรงมาก
ขนาดยาที่ใช้: Sodium valproate รับประทานเริ่มต้น 500 มิลลิกรัมแล้วค่อยเพิ่มเป็น 1000 มิลลิกรัม ก่อนนอน
ผลข้างเคียง: ง่วงนอน, คลื่นไส้, ระดับเอนไซม์ตับสูงขึ้น