โทร  081 428 9569  |  02 716 9767

Top
โรคหอบหืด

โรคหอบหืดคืออะไร

โรคหอบหืด ชื่อนี้เรียกตามอาการของคนไข้ โดยอาการหอบหืดเกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม แท้จริงแล้วเป็นผลจากอักเสบของเยื่อบุหลอดลม การอักเสบส่วนใหญ่จะเป็นการอักเสบเรื้อรังเกิดจากภาวะที่มีการตอบสนองรุนแรงเกินเหตุ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดลมคือ

  • การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม
  • การบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม
  • เสมหะจำนวนมากที่คั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม

โรคหืด หรือ โรคหอบหืด หรือ Asthma

คือโรค ที่มีการอักเสบเรื้อรังของ หลอดลม ทำให้หลอดลมมี ความไวต่อการถูกกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้หรือตัวกระตุ้น ต่างๆ เมื่อถูกกระตุ้นหลอดลมจะมีการตีบแคบลง เนื่อง จากมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ มีการสร้างเสมหะ มากขึ้นร่วมกับการบวมและหลุดลอกของเยื่อบุหลอด ลมที่ตีบแคบอาจดีขึ้นได้เองหรือดีขึ้นด้วยยาขยาย หลอดลม โรคหืดเป็นโรคที่ไม่หายขาดแต่จะมีอาการ ดีขึ้น หรือแย่ลงเป็นๆ หายๆ บางคนก็นานๆ เป็นครั้ง เวลาเป็นหวัด ในขณะที่บางคนก็เป็นบ่อยหรือเป็น ตลอดเวลา มีข้อมูลว่าผู้ป่วยโรคหืดจะมีการอักเสบของ หลอดลม เกือบตลอดเวลาแม้จะไม่มีอาการ การอักเสบ นี้ถ้ามีความรุนแรงอาจนำไปสู่การทำลายหลอดลมอย่าง ถาวรได้

โรคหอบหืด คนเป็นกันมาก ตามสถิติแล้วมีผู้ป่วยเป็นโรคหอบหืด ประมาณ 10-13% ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในเด็กชายเป็น โรคหอบหืด มากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย ในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่ สองในสามจะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ต่างกันที่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะภูมิแพ้ โดยความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ โรคหอบหืด คือ คนมักเข้าใจว่า โรคหอบหืดเป็นผลจากภาวะภูมิแพ้เสมอไป

โรคหอบหืด ต่างกับโรคอื่น ๆ คนไข้บางคนเป็นน้อย บางคนเป็นมาก และอาจเสียชีวิตได้ ภาวะที่กระตุ้นให้ โรคหอบหืด กำเริบก็ต่างกันในแต่ละคนไข้ ตัวอย่างของภาวะหรือสิ่งที่กระตุ้นให้ โรคหอบหืด กำเริบ คือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลม ภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศเปลี่ยน การออกกำลังกาย โรคทางเดินอาหารบางโรค ภาวะแพ้ยา สารสี สารเคมีต่าง ๆ และภาวะเครียด

การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โรคหอบหืดกำเริบ ส่วนใหญ่ของเชื้อจะเป็นไวรัสที่ติดมาจากโรงเรียน หรือที่ชุมชน เด็กจำนวนมากที่แพ้สารต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา แมลงสาบ และอื่น ๆ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้แน่นอน โรคหอบหืดเป็นโรคของหลอดลมที่มีการอักเสบเรื้อรัง [Chronic inflammatory] เป็นผลให้มี cell ต่างๆ มาสะสมที่เยื่อผนังหลอดลม ทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ ผลจากการอักเสบจึงทำให้เยื่อบุผนังหลอดลมมีการหนาตัว กล้ามเนื้อหลอดลมมีการหดเกร็งตัว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะเกิดขึ้นทันทีที่ได้รับสารภูมิแพ้ โรคนี้เรียกตามอาการของคนไข้ อาการหอบหืดเกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง

การวินิจฉัยโรคหอบหืด

ในเด็กทั่วไปแล้วจะยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กจำนวนไม่น้อยมีอาการอื่นร่วมด้วย เด็กบางคนไม่มีอาการหอบเลยก็ได้ ส่วนใหญ่ประวัติการเจ็บป่วยของเด็กโรคหอบหืดจะไม่ค่อยสมบูรณ์ เพราะข้อมูลได้มาจากแม่เด็ก พี่เลี้ยง ครูที่โรงเรียน หรือตัวเด็กเอง

อาการของโรคหอบหืด

อาการของโรคหืดในแต่ละคนมีความแตกต่างกัน หรือแม้คนคนเดียวกันในเวลาที่แตกต่างกันก็อาจแสดงอาการ ไม่เหมือนเดิม อาการสำคัญของโรคหอบหืด ได้แก่

  • ไอ
  • แน่นหน้าอก
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • หอบเหนื่อยหายใจลำบาก

อาการมักจะแย่ลงเวลากลางคืนหรือเมื่อสัมผัสกับ ตัวกระตุ้นที่ผู้ป่วยแพ้ ผู้ป่วยโรคหืดประมาณครึ่งหนึ่งจะมีอาการของโรค ภูมิแพ้ร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูกขาวใสไหล คัดจมูก จาม เป็นๆ หายๆ เวลาอากาศเปลี่ยน

อาการที่เป็นปัญหาในการวินิจฉัยโรคหืดคือ ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการไอเรื้อรังเพียง อย่างเดียว (cough variant asthma) ตรวจร่างกาย มักจะปกติ และผู้ป่วยเองก็ไม่เชื่อว่าตนเองเป็นโรคหืด แต่ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับยาสเตอรอยด์ชนิดสูด

อาการสำคัญของโรคหอบหืด

คือ ไอตอนเช้า กลางคืนตอนดึก ไอเวลาวิ่งเล่น หรือหลังวิ่งเล่น คัดจมูก น้ำมูกไหลร่วมด้วย ในเด็กเล็กที่หอบจากมีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคหอบหืด เช่น โรคหัวใจ โรคติดเชื้อในปอด สารแปลกปลอม ถั่ว ข้าวโพดคั่วติดในหลอดลม หรือโรคทางเดินอาหารบางชนิด

การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โรคหอบหืด กำเริบ ส่วนใหญ่ของเชื้อจะเป็นไวรัสที่ติดมาจากโรงเรียน หรือที่ชุมชน เด็กจำนวนมากที่แพ้สารต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา แมลงสาบ และอื่น ๆ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้แน่นอน

ปัจจัยที่มีผลต่ออาการของโรคหอบหืด หรือจะ เรียกง่าย ๆ ว่าตัวกระตุ้นหอบหืดได้แก่
1. สารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ฝุ่นละออง เชื้อรา เกสรดอกไม้ แมลงสาบ ขนสัตว์
2. สารที่ก่อให้ เกิดการระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ กลิ่น มลภาวะในอากาศ สารระเหยที่มีกลิ่นเช่น น้ำหอม และ ตัวทำละลายต่าง ๆ
3. อื่นๆ เช่น
3.1 การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
3.2 การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เช่น ความเครียด ความโกรธ ความกลัว ความดีใจ การ ออกกำลังกาย
3.3 การเปลี่ยนแปลงของอากาศ อากาศเย็น การติดเชื้อไวรัสของระบบทางเดินหายใจ
3.4 สารซัลไฟต์ในอาหาร เช่น ผลไม้แห้ง หรือไวน์
3.5 ภาวะกรดย้อนจากกระเพาะ
3.6 ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน ยาหยอดตา ที่มีฤทธิ์ต้านเบต้า
3.7 อาหาร เช่น อาหารทะเล,ถั่ว,ไข่,นม,ปลา,สารผสมในอาหารเป็นต้น

การรักษาโรคหอบหืด

จะต่างกันในคนไข้แต่ละคนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุคนไข้ และภาวะที่เกิดร่วมกับโรคหอบหืด เช่น ภาวะภูมิแพ้ หรือโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง

1. หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น
2. การใช้ยา ยาที่ใช้แบ่งได้เป็น2 กลุ่มคือ
2.1. ยาขยายหลอดลม ใช้เพื่อขยายหลอดลม ลดอาการหอบเหนื่อย ได้แก่ ยาVentolin, Bricanyl, Meptin ทั้งชนิดยาเม็ดรับประทานและยาพ่น รวมทั้งยาพ่น Berodual และ Combivent เป็นต้น
2.2. ยาต้านการอักเสบ ใช้ควบคุมโรคให้เข้า สู่ระยะสงบ ได้แก่ ยาพ่นที่มีส่วนประกอบของ สเตอรอยด์ เช่น Pulmicort, Flixotide, Symbicort, Seretide และ ยารับประทาน ได้แก่ Singulair, Nuelin SR, Xanthium เป็นต้น
3. รักษาโรคอื่น ๆ ที่พบร่วมด้วยเช่น โรคภูมิแพ้ และภาวะกรดย้อนจากกระเพาะ

โดยทั่ว ๆ ไป แนวทางรักษาที่ยอมรับโดยผู้เชี่ยวชาญมีอยู่ 4 ข้อดังนี้

  • แนะนำให้ใช้การตรวจสอบสมรรถภาพของปอด เพื่อบ่งชี้ความรุนแรงของโรค และเพื่อติดตามวัดผลการรักษา
  • การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ หรือป้องกันการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมร่วมกับการใช้ยา เพื่อคลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลมที่หดตัว
  • การควบคุมภาวะแวดล้อมต่าง ๆ โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีภาวะภูมิแพ้ร่วมด้วย รวมถึงการรักษาเฉพาะเจาะจงในภาวะภูมิแพ้
  • ต้องให้ความรู้คนไข้ และครอบครัวเกี่ยวกับ โรคหอบหืด และการปฏิบัติตน เช่น เลิกสูบบุหรี่ วิธีการออกกำลังกาย และวิธีใช้ยาที่ถูกต้อง

การรักษาอย่างต่อเนื่องสำคัญที่สุดในโรคหอบหืดคนไข้ส่วนใหญ่ หรือแพทย์ส่วนใหญ่จะมองข้ามจุดสำคัญนี้ ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย คนไข้ก็ว่าไม่หายสักที หมอก็ว่าคนไข้ไม่รู้เรื่องไม่ทำตามสั่ง

ผลการรักษาโรคหอบหืดที่ควรเกิดขึ้นมีดังนี้

  • สมรรถภาพปอดดีขึ้น
  • คนไข้สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ หรือเกือบปกติ รวมทั้งการออกกำลังกาย
  • อาการเรื้อรังที่น่าเบื่อหน่วยสำหรับคนไข้สิ้นสลายไปอาการ เช่น ไอ หายใจขัด แน่นหน้าอก
  • ป้องกันการกำเริบของโรคได้
  • ผลข้างเคียงจากยาควรจะไม่มี หรือมีน้อยที่สุด

ความเข้าใจที่สำคัญมาก คือ การอักเสบของเยื่อบุหลอดลมในโรคหอบหืด นี้เป็นการอักเสบอย่างเรื้อรัง ต่อเนื่องที่กำเริบได้เป็นระยะ แม้เวลาที่คนไข้รู้สึกดี ไม่มีอาการไอ หรือหอบ ภาวะการอักเสบนี้ยังคงอยู่ตลอดเวลา

ยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืด

ยาต้านการอักเสบ
ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรคหอบหืด สำหรับผู้ป่วยเด็ก และผู้ใหญ่ ยานี้มีทั้งรูปแบบยาเม็ดสำหรับรับประทาน และรูปแบบพ่นเข้าสู่หลอดลมโดยตรง อย่างไรก็ตาม ยาในรูปแบบพ่นถือได้ว่าเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาของคนไข้หอบหืดเรื้อรัง และมีความปลอดภัยสูง เพราะปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อย ซึ่งในปัจจุบันยังไม่พบผลข้างเคียงรุนแรงใด ๆ จากการใช้ยานี้ ส่วนยาในรูปแบบรับประทานจะใช้รับประทาน เมื่อมีอาการกำเริบอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถจะพ่นยาได้ และจะใช้ในระยะสั้นๆ เท่านั้น คือ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่หากผู้ป่วยโรคหอบหืด รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจพบผลข้างเคียงขึ้นได้เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม ความดันโลหิตสูง ตาเป็นต้อ กระดูกผุ กล้ามเนื้ออ่อนแรง และบวมตามที่ต่าง ๆ โครโมลิน และ นิโดโครมิล เป็นยาพ่นที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน และลดการอักเสบที่จะเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย หรืออากาศเปลี่ยน

ยาขยายหลอดลม
ยาประเภทนี้จะช่วยขยาย หรือคลายกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลมที่หดเกร็งตัว

ยากลุ่มเบต้าอะโกนิส
ที่ใช้แพร่หลายคือยาพ่นแบบน้ำ และแบบผง อีกทั้งยังมียาเม็ด และยาน้ำในรูปแบบรับประทาน รวมทั้งรูปแบบที่ใช้กับเครื่องปั๊ม ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการขยายหลอดลมสูง นิยมใช้ในคนไข้ โรคหอบหืด ที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน แต่ไม่ควรใช้ติดต่อเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงในภายหลัง เพราะไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงของ โรคหอบหืด

ยากลุ่มแซนทีน
ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และขยายหลอดลม สำหรับใช้ในคนไข้โรคหอบหืดเรื้อรัง ในปัจจุบันจะพบได้ทั้งยาฉีดยาน้ำ และยาเม็ด ทั้งรูปแบบธรรมดา เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับประทาน ผลข้างเคียงพบได้น้อย มีความปลอดภัยสูง

มักมีความเข้าใจผิดว่า ยาขยายหลอดลมคือ ยาหลักที่ใช้รักษาโรคหืด ความจริงแล้วไม่ถูกต้อง เนื่องจากโรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบ ดังนั้นยาหลัก ที่ใช้รักษาก็ต้องเป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งก็คือยาสเตอรอยด์ชนิดสูด ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สุดที่ใช้รักษาโรคหืดในปัจจุบัน สามารถลดการกำเริบเฉียบพลันและลดการทำลายหลอดลมอย่างถาวรได้ ในขณะที่ยาขยายหลอดลมออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ ของหลอดลม จะลดอาการหอบเหนื่อยในช่วงที่กำลัง กำเริบ ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนการรับประทานพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ แต่ก็มีความจำเป็นในช่วงที่มีอาการฉุกเฉิน

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอีกอย่างที่พบได้บ่อย คือ เข้าใจว่ายาที่เป็นสเตอรอยด์เป็นยาอันตรายใช้แล้ว จะมีผลข้างเคียงระยะยาว ความเชื่อนี้ถูกต้องเพียง บางส่วน การได้รับยาในรูปรับประทานหรือฉีดใน ระยะยาว จะมีผลต่ออวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกายจริง แต่ก็จำเป็นต้องใช้ในกรณีหอบเหนื่อยรุนแรงเฉียบพลัน เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย และใช้ในช่วงสั้น ๆ ไม่เกิน 7-10 วัน ส่วนยาสเตอรอยด์ชนิดสูดจะออกฤทธิ์เฉพาะที่ หลอดลมและไม่ดูดซึม จึงปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง ตามที่เข้าใจ

เนื่องจากโรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง ถ้าผู้ป่วย มีอาการรุนแรงในระดับหนึ่งจำเป็นต้องใช้ยาสเตอรอยด์ ชนิดสูดอย่างต่อเนื่องจนอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อย ๆ ลดขนาดยาลง และเมื่อมีอาการบ่อยขึ้นก็ต้องเพิ่มยาขึ้นตามความรุนแรง

คำแนะนำ

  1. เด็กควรกินปลาที่มีไขมันมากเป็นประจำ เช่น ปลาค็อด จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืด
  2. รับประทานอาหารที่มี แมกนีเซียมสูง ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน
  3. ค้นหาว่าแพ้อะไร และพยายามหลีกเลี่ยง
  4. งดอาหารที่กระตุ้นอาการหอบหืด ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น อาหารที่ใส่สารกันบูด
  5. งดอาหารที่ใส่สีสังเคราะห์ เช่น tartrazine, brilliant blue
  6. งดนมวัว ธัญพืช ไข่ ปลา ถั่วลิสง
  7. รับประทานยาและออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ